Monday, September 12, 2016

ขั้นตอนการผลิต

ขั้นตอนการผลิต

1.อันดับแรกต้องลอกเปลือกลูกตาลออกให้หมด แล้วขูดเอาสีเหลืองออก ตัวลูกตาลแช่น้ำไว้จนเนื้อลูกตาลละลายออกหมด ใช้ผ้าห่อเนื้อลูกตาล แลน้ำที่ละลายผูกมัดปากรวมไว้ให้แน่นแขวนหรือทับไว้ให้แห้ง      


ลูกตาลสุก ล้าง ปอก ขูดเนื้อตาลออก


เนื้อตาลที่ได้ ส่วนเมล็ดตาลนำไปขยำกับน้ำให้เนื้อออกให้


กรองด้วยกระชอน แล้วกรองด้วยถุงผ้าขาวหนา  แขวนไว้ให้น้ำตกจนหมด ทำก่อนใช้ 1คืน

2. โม่ข้าวสารที่แช่น้ำไว้ให้ละเอียด แล้วทับให้แห้ง
3.
 จากนั้นผสมข้าวสารที่โม่และทับจนแห้งแล้ว รวมกับแป้งท้าวยายม่อม และลูกตาลที่ทับจนแห้งแล้วนวดส่วนผสมทั้งหมด เข้าด้วยกันจนแป้งที่ผสมเนียนและนุ่มมือ(ประมาณ 30-60 นาที)ใส่น้ำตาลสลับกับหัวกะทิ นวดจนหัวกะทิและน้ำตาล ละลายหมด พักไว้ประมาณ5-10 ชั่วโมง


นำเนื้อตาลที่ได้มานวดกับแป้งแล้วเติมกะทิ(ผสมกับน้ำตาลทรายตั้งไฟให้เดือดพักให้เย็น)


นวดเนื้อลูกตาลกับแป้งข้าวเจ้าให้เข้ากัน แล้วค่อยๆเติมกะทิที่เคี่ยวไว้จนหมด 

เมื่อเติมกะทิจนหมดได้ลักษณะดังภาพ ปิดฝาพักไว้ 4-5 ชั่วโมงจนขึ้นฟู (เป็นฟองปุดๆๆ)

4. ขั้นตอนรองสุดท้ายให้ตักแป้งที่ผสมแล้วใส่กระทงหรือถ้วยตะไล โรยมะพร้าว แล้วนึ่งให้สุกยกลงถ้าใส่ถ้วยตะไลรอให้เย็นก่อนแล้วจึงนำออกจากถ้วยจัดใส่ภาชนะ



สรุปผลการศึกษา

การวิจัยเรื่องการทำขนมตาล ทำให้ได้รู้ถึงรู้หลักวิธีการทำ และวัฒนธรรมการการอนุรักษ์ของชุมชนในท้องถิ่นภาคใต้อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สมควรรับการส่งเสริม และอนุรักษ์ตลอดไป
จากการศึกษาพบว่า ขนมตาล เป็นขนมไทยที่นิยมกินกันมาตั้งแต่โบราณ โดยให้นำสิ่งแวดล้อมความเป็นธรรมชาติมาพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้เข้ากับชุมชน  การทำขนมตาลเป็นอีกภูมิปัญญาหนึ่งที่เราควร อนุรักษ์ถึงวัฒนธรรมของชุมชน ที่ได้สะท้อนความเป็นอยู่ของชาวบ้านในท้องถิ่นตามที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำขนมตาล
2. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น










3. .ทราบว่าท้องถิ่นใด ที่ยังมีความนิยมขนมตาลอยู่

ข้อเสนอแนะ
การวิจัยเรื่อง ขนมตาล เพื่อประกอบการศึกษาข้อมูล ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
            1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.1  ควรจะนำผลจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ไปปรับใช้  หรือบอกต่อคนในชุมชนอื่นๆที่สนใจเพื่อการอนุรักษ์  และสืบสานต่อไป
1.2  ควรจะนำผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เผยแพร่ให้กับบุคคลที่สนใจ เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้เข้ากับชุมชน
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป
2.1  ควรจะได้ศึกษา รูปแบบวิถีชีวิตว่าการประกอบอาชีพเป็นอย่างไร และควรจะศึกษาข้อแตกต่างจากหลายๆชุมชนเพิ่มเติม




No comments:

Post a Comment