Monday, September 12, 2016

ประวัติขนมตาล

ประวัติขนมตาล      ขนมตาล เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตองโรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรงซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาล          ในปัจจุบัน หาทานขนมตาลรสชาติดีได้ยาก เนื่องจากปริมาณการปลูกต้นตาลที่ลดลง ขนมตาลที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการมักใส่เนื้อตาลน้อย เพิ่มแป้งและเจือสีเหลืองแทนซึ่งทำให้ขนมตาลมีเนื้อกระด้าง ไม่หอมหวาน และไม่อร่อย

http://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-12.JPG

วิธีทำขนมตาล

วิธีการทำ

1. นำผลตาลสุกงอม ปอกเปลือกแช่น้ำ ยีลูกในน้ำที่แช่ นำเนื้อตาล ใส่ในถุงผ้าแขวนไว้จนน้ำออกหมด เหลือแต่เนื้อตาล และนำมาผสมกับแป้งข้าวเจ้า นวดให้เข้ากัน ใส่แป้ง

2. ใส่น้ำกะทิ นวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน นวดแป้ง
3. 
ใส่น้ำตาลทราย นวดต่อจนน้ำตาลละลาย หมักไว้ ชั่วโมง ใส่น้ำตาลทราย
4. 
เตรียมกระทงใบตอง ตัดเป็นรูปวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางยาว นิ้ว เย็บสี่มุมเป็นรูปกระทง ทำกระทง
5. 
ตักขนมใส่กระทง ตักขนมใส่กระทง
6. 
โรยมะพร้าวขูดลงบนหน้าขนม โรยมะพร้าว
7. 
นำไปนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 20 นาที นึ่งขนม

http://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-30.JPGhttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-04.JPGhttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-13.jpghttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-14.JPGhttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-17.jpghttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-18.jpghttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-19.jpghttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-20.jpghttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-21.JPGhttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-23.jpghttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-24.JPGhttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-25.JPGhttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-26.JPGhttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-27.JPGhttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-28.JPGhttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-29.JPGhttp://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-09.JPG

อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต


            1. ลูกตาลสุก          
            2. ข้าวสารเก่า
            3. แป้ง
            4. น้ำตาลทราย
            5. หัวกะทิ
6. มะพร้าวทึกขูดฝอย
7.เกลือป่น
http://pim.in.th/images/all-thai-dessert/kanom-tan/kanom-tan-02.JPG


ขั้นตอนการผลิต

ขั้นตอนการผลิต

1.อันดับแรกต้องลอกเปลือกลูกตาลออกให้หมด แล้วขูดเอาสีเหลืองออก ตัวลูกตาลแช่น้ำไว้จนเนื้อลูกตาลละลายออกหมด ใช้ผ้าห่อเนื้อลูกตาล แลน้ำที่ละลายผูกมัดปากรวมไว้ให้แน่นแขวนหรือทับไว้ให้แห้ง      


ลูกตาลสุก ล้าง ปอก ขูดเนื้อตาลออก


เนื้อตาลที่ได้ ส่วนเมล็ดตาลนำไปขยำกับน้ำให้เนื้อออกให้


กรองด้วยกระชอน แล้วกรองด้วยถุงผ้าขาวหนา  แขวนไว้ให้น้ำตกจนหมด ทำก่อนใช้ 1คืน

2. โม่ข้าวสารที่แช่น้ำไว้ให้ละเอียด แล้วทับให้แห้ง
3.
 จากนั้นผสมข้าวสารที่โม่และทับจนแห้งแล้ว รวมกับแป้งท้าวยายม่อม และลูกตาลที่ทับจนแห้งแล้วนวดส่วนผสมทั้งหมด เข้าด้วยกันจนแป้งที่ผสมเนียนและนุ่มมือ(ประมาณ 30-60 นาที)ใส่น้ำตาลสลับกับหัวกะทิ นวดจนหัวกะทิและน้ำตาล ละลายหมด พักไว้ประมาณ5-10 ชั่วโมง


นำเนื้อตาลที่ได้มานวดกับแป้งแล้วเติมกะทิ(ผสมกับน้ำตาลทรายตั้งไฟให้เดือดพักให้เย็น)


นวดเนื้อลูกตาลกับแป้งข้าวเจ้าให้เข้ากัน แล้วค่อยๆเติมกะทิที่เคี่ยวไว้จนหมด 

เมื่อเติมกะทิจนหมดได้ลักษณะดังภาพ ปิดฝาพักไว้ 4-5 ชั่วโมงจนขึ้นฟู (เป็นฟองปุดๆๆ)

4. ขั้นตอนรองสุดท้ายให้ตักแป้งที่ผสมแล้วใส่กระทงหรือถ้วยตะไล โรยมะพร้าว แล้วนึ่งให้สุกยกลงถ้าใส่ถ้วยตะไลรอให้เย็นก่อนแล้วจึงนำออกจากถ้วยจัดใส่ภาชนะ



สรุปผลการศึกษา

การวิจัยเรื่องการทำขนมตาล ทำให้ได้รู้ถึงรู้หลักวิธีการทำ และวัฒนธรรมการการอนุรักษ์ของชุมชนในท้องถิ่นภาคใต้อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สมควรรับการส่งเสริม และอนุรักษ์ตลอดไป
จากการศึกษาพบว่า ขนมตาล เป็นขนมไทยที่นิยมกินกันมาตั้งแต่โบราณ โดยให้นำสิ่งแวดล้อมความเป็นธรรมชาติมาพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้เข้ากับชุมชน  การทำขนมตาลเป็นอีกภูมิปัญญาหนึ่งที่เราควร อนุรักษ์ถึงวัฒนธรรมของชุมชน ที่ได้สะท้อนความเป็นอยู่ของชาวบ้านในท้องถิ่นตามที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำขนมตาล
2. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่น










3. .ทราบว่าท้องถิ่นใด ที่ยังมีความนิยมขนมตาลอยู่

ข้อเสนอแนะ
การวิจัยเรื่อง ขนมตาล เพื่อประกอบการศึกษาข้อมูล ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
            1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.1  ควรจะนำผลจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ไปปรับใช้  หรือบอกต่อคนในชุมชนอื่นๆที่สนใจเพื่อการอนุรักษ์  และสืบสานต่อไป
1.2  ควรจะนำผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เผยแพร่ให้กับบุคคลที่สนใจ เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้เข้ากับชุมชน
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป
2.1  ควรจะได้ศึกษา รูปแบบวิถีชีวิตว่าการประกอบอาชีพเป็นอย่างไร และควรจะศึกษาข้อแตกต่างจากหลายๆชุมชนเพิ่มเติม